วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ความสำคัญและความหมาย

บุญบั้งไฟเป็นที่นิยมทำกันเดือน 6 การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองเป็นประเพณีทำบุญขอฝนเพื่อให้ฝนตากต้องตามฤดูกาลเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณบางหมู่บ้านถือเคร่งมากคือจะต้องทำบุญบั้งไฟทุกปีจะเว้นไม่ทำไม่ได้เพราะถ้าเว้นไม่ทำบุญนี้เชื่อว่าอาจทำให้เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ เช่นฝนแล้งบ้างหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้างคนหรือวัวควายอาจเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ บ้างเป็นต้นและเมื่อทุกบุญดังกล่าวแล้วก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุขเพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วยการเตรียมงานเมื่อชาวบ้านตกลงกำหนดวันกับทางวัดแล้วว่าจะทำบุญบั้งไฟวันใดก็พากันจัดหาเงินซื้อดินประสิวไปมอบให้ทางวัดเพื่อให้เจ้าอาวาสประชุมประภิกษุสามเณรและชาวบ้านจัดทำบั้งไฟขึ้นและเจ้าบ้าน(คนในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพ)จะทำฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ชาวบ้านอื่นจัดบั้งไฟและขบวนเซิ้งมาร่วมงานบุญและประชันกันบางทีมีประกาศให้หมู่บ้านหรือบุคคลนำบั้งไฟมาประกวดกันโดยประกาศทั้งขบวนแห่งการประดับตกแต่งบั้งไฟและการจุดขึ้นสูงของบั้งไฟด้วยทางคณะเจ้าภาพจะจัดหารางวัลให้ผู้ชนะเมื่อใกล้จะถึงวันกำหนดงานชาวบ้านที่เป็นเจ้าของงานจะพากันปลูกเพิงหรือผาม(ประรำ)รอบบริเวณวัดหรือศาลาวัดเพื่อให้คนหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงานได้พักอาศัยและทุกบ้านเตรียมสุราอาหารทั้งคาวหวานไว้ต้อนรับแขกที่จะมาจากต่างถิ่นโดยไม่คิดมูลค่าส่วนผู้ชำนาญในการทำบั้งไฟก็เตรียมหาไมและอุปกรณ์มาทำบั้งไฟ บั้งไฟมีความเล็กใหญ่แล้วแต่ความต้องการหรือตามความสามารถของผู้จัดทำที่มีขนาดใหญ่มี2ชนิดคือบั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสนตามน้ำหนักของดินปืนบั้งไฟหมื่นใช้ดินปืนหนัก12กิโลกรัม(หนึ่งหมื่น)ถ้าบั้งไฟแสนก็ใช้ดินปืนหนักสิบหมื่น(120 กิโลกรัม)บั้งไฟ คือ กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ2ถึง3เมตร ทะลุปล้องออกหรือกระบอกเหล็กกลม ๆ กลวงข้างในก็ได้ สำหรับใช้บรรจุดินปืน ตำดินปืนให้แน่นเกือบเต็มกระบอกโดยมีลิ่มอุดที่ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้แน่น เอาดินเหนียวปิดปากกระบอกอีกข้างหนึ่งเสร็จแล้วเจาะรูให้พอเหมาะแล้วเอาไม้ไผ่ขนาดเล็กเป็นท่อน ๆ ข้างกันมีข้อยาวต่าง ๆ กันมาเป็นลูกบั้งไฟโดยมัดรอบตัวบั้งไฟเพื่อให้เกิดเสียงดังเมื่อบั้งไฟอยู่ในอากาศและมีไม่ไผ่ลำยาวทำเป็นหางมีขนาดสั้นยาวแล้วแต่ขนาดของบั้งไฟแล้วประดับประดาบั้งไฟด้วยกระดานสีทำลวดลายต่าง ๆ กันแล้วแต่จะเห็นสวยงามวันทำบุญเมื่อถึงวันทำบุญชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ทำบุญเตรียมทาอาหารการกินรับแขกและภัตตาหารสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ได้รับการบอกบุญก็จะมีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวและเด็กพร้อมทั้งบั้งไฟมาร่วมงานบุญที่วัดซึ่งตามปรกติจะมาพร้อมกับพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานบุญในงานบุญบั้งไฟพ่อแม่ยินดีให้ลูกสาวไปร่วมงานโดยไม่มีการขัดข้องเกี่ยงงอน ในงานบุญบั้งไฟมักจะมีการบวชนาคด้วย ก่อนบวชมีการฟังพระสวดมนต์ และถวายภัตตาหารเพล ตอนบ่ายตีกลองรวมประชาชน ทำพิธีสู่ขวัญนาคและทำพิธีบวชนาคก่อนจะมีการบวชนาค เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้บวช จะมีพิธีสู่ขวัญนาคก่อน


ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social04/17/heat12kong14/htmls/6.htm
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may46/know/bungfli.html

5 ความคิดเห็น: