วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไหลเรือไฟ














ประวัติ / ความเป็นมา          งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล – ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟในภาคอีสานนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยังยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดีย สมัยที่นำอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ ดังพบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้นในภาคอีสานมักเกี่ยวโยงหรือผูกพันกับเรื่องของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า “ไฟ” เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรองจากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญสิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้จังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ มักจัดขึ้นคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อ จังหวัดหนองคาย มีความเชื่อว่า เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ที่ริมฝั่งน้ำนัมทานที ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล เมื่อพระองค์เสด็จกลับทางฝ่ายพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทานที  พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ ณ หาดทรายริมน้ำตามประสงค์ของพญานาค ซึ่งรอยพระบาทที่ประทับไว้นี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานครเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของเหล่าเทวดาและมนุษย์ด้วย จนแสดงออกด้วยการไหลเรือไฟบูชารอยพระพุทธบาทของพระองค์ความเป็นมาของการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เสฐียรโกเศศ ได้เขียนไว้ในหนังสือวัฒนธรรมและประเพณี อ้างตามคำบอกเล่าของพระเถระรูปหนึ่งว่า การลอยกระทงที่จังหวัดหนองคาย เมื่อกลางเดือน 11 ชาวคุ้มวัดต่างๆ จะร่วมกันสร้างเรือนบนตันกล้วย เอาไม้เสียบเรียงขนานกันเป็นทุ่นใช้ผ้าชุบน้ำมันยางมัดติดปลายไม้ หรือใช้ไต้เรียงเป็นระยะๆ แล้วช่วยกันเอาเชือกลากออกไปกลางกระแสน้ำ จุดไฟปล่อยไปในเวลากลางคืน เรียกว่า “ไหลเรือ” และเมื่อลอยไปแล้วมักจะถูกคนที่อยู่ใต้กระแสน้ำเก็บเอาไต้ที่จุดไปเสีย ทำให้กระทงที่ดูสว่างไสวสวยงามนั้นลอยอยู่ในน้ำไม่ได้นานหลายครั้งหลายหนเข้า ผู้ร่วมมือร่วมแรงกันประดิษฐ์กระทงเรือก็หมดกำลังใจ ทำให้การไหล(เรือ)เฮือไฟซบเซาไป และมาหยุดชะงัก เมื่อปี 2518 เมื่อประเทศลาวมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันเป็นผลกระทบทางด้านการเมือง




กำหนดงาน
          จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

กิจกรรม / พิธี
          การทำเรือไฟในอดีตนั้น ทำด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ยาวเพียง 5-6 วาเท่านั้น ความสูงไม่เกิน 1 เมตร และเป็นรูปเรือธรรมดา ทำราวไว้สองข้าง เพื่อวางขี้กะไต้ ตะเกียง หรือโคมไฟ มีการจัด ข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนย ฝ้ายไน ไหมหลอด เสื่อผืน บรรจุไว้ข้างใน พอเวลาประมาณ 5 โมงเย็นจะเริ่ม ทำพิธีโดยนิมนต์พระมาสวดและหลังการรับศีล ฟังเทศน์ ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จึงให้ญาติโยมตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูปเทียนที่ถือไปบำเพ็ญกุศลนั่นเอง พอย่ำค่ำก็นำเรือไฟออกไปกลางแม่น้ำโขงแล้วจุดไฟปล่อยให้เรือไหลไปตามลำน้ำส่งแสงระยิบตาเลยทีเดียว
           ต่อมาการทำเรือไฟมีวิธีตกแต่งให้วิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น รู้จักนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบทำให้สามารถดัดแปลง เรือไฟให้มีรูปร่างแปลกตาออกไปอีก ทั้งพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดจะเตรียมจัดทำเรือไฟไว้ล่วงหน้าหลายวัน โดยนำเอาต้นกล้วยทั้งต้นมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว หลายวา วางขนานกันสองแถว กว้างห่างกันพอประมาณ แล้วนำไม้ไผ่เรียวยาวมาผูกไขว้กันเป็นตาราง สี่เหลี่ยมมีระยะห่างกันคืบเศษวางราบพื้น มัดด้วยลวดให้แน่นและแข็งแรง เพื่อรอการออกแบบภาพบนแผงผู้ออกแบบแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างสวยงามที่สุด เช่น ประดิษฐ์เป็นเรื่องราวตามพระพุทธประวัติหรือสัตว์ในตำนานบ้างเป็นพญานาค ครุฑ หงส์ เป็นต้น แล้วนำไปปักติดเป็นเสาบนแพหยวกกล้วย
          ในอดีตเชื้อเพลิงที่ใช้จุดไฟนั้นใช้น้ำมันยางตระบอกขี้ผึ้งสีน้ำมันพร้าว, น้ำมันสน, น้ำมันยางที่เจาะสกัดจากต้นยาง ตะแบกชาด แล้วเอาไฟลนไม้ให้น้ำมันไหลออกมา แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันดีเซล บรรจุในขวดน้ำดื่มต่างๆ แล้วนำมาแขวนตามโครงเรือ ซึ่งต้องอาศัยการคำนวณที่แม่นยำ เพราะถ้าติดกันมากเกินไปจะทำให้เรือไหม้ไฟได้ ส่วนโครงเรือเป็นไม้มีขนาดใหญ่ และเน้นความวิจิตรตระการตา เมื่อปล่อยเรือไฟลงน้ำโขงแล้ว จะมีความวิจิตรตระการตา สว่างไสวไปทั่วริมฝั่งแม่น้ำโขง อวดโฉมระยิบระยับ มีฉากหลังเป็นสีดำจากท้องฟ้าในยามค่ำคืน และแสงที่สะท้องจากท้องน้ำเพิ่มความงดงามมากยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะมีการไหลเรือไฟ ในช่วงเช้าจะประกอบการกุศลด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร และเลี้ยงดูกัน ตกตอนบ่ายก็ตกแต่งเรือและมีการเล่นสนุกสนานต่างๆ ตอนเย็นมีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ พอตอนค่ำระหว่าง 19.00-20.00 น. จึงนำเรือออกไปลงน้ำและพิธีไหลเรือไฟก็เริ่มขึ้น
การประดิษฐ์เรือไฟและพิธีการมีความคล้ายคลึงกับทางจังหวัดนครพนมเป็นอย่างมาก แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป คือ เมื่อมีการทำบุญและฟังเทศน์จบแล้ว ก็จะมีการร้องรำทำเพลงฉลองเรือไฟ พอเวลาค่ำชาวบ้านจะนำของกินของใช้ เช่น ขนม ข้าวต้ม กล้วย อ้อย ฝ้าย ผ้าไหม หมากพลู บุหรี่ ใสกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ ครั้นได้เวลาก็จุดไต้ หรือคบเพลิงในเฮือไฟให้สว่าง ชาวบ้านจุดธูปเทียนบูชา และคารวะแม่คงคา เสร็จแล้วนำเอาธูปเทียนไปวางไว้ในเรือไฟ เมื่อบูชากันหมดทุกคนจึงปล่อยเรือไฟออกจากฝั่งให้ลอยไปตามลำน้ำ พอรุ่งเช้าเรือไฟไปติดที่ฝั่งไหนก็จะมีคนไปเก็บของออกจากเรือไฟ การล่องเรือไฟจะมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
            นอกจากการลอยเรือไฟ ขณะเดียวกันที่หนองคายมีการลอยกระทง โดยใช้หยวกกล้วยทั้งต้นมาต่อกัน มีไม้เสียบ ยาวหลายวา วางขนานกัน 2 แถว กว้างห่างกันพอประมาณ แล้วปักเสาบนหยวกกล้วยเป็นระยะบนปลายเสา สร้างเป็นรูปพญานาค แล้วเอาผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันยางจุดบนปลายไม้บางๆ เป็นระยะๆ หรือไม่ก็ใช้จุดด้วยไต้ หัวหยวกกล้วยเท่ากับเป็นทุ่น วัดในตำบลหนึ่งๆ ทำกระทงอย่างนี้กระทงหนึ่งแล้วลากไปไว้เหนือน้ำ จอดอยู่ริมฝั่งทั้งสองข้าง เวลาเย็นชาวบ้านทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำพากันลงเรือไปชุมนุมกันร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน พอได้เวลากลางคืนก็จุดไต้ที่กระทงเอาเชือกลากไปที่กลางน้ำ แล้วปล่อยให้ลอยไป ในกระทงมีอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ เมื่อเห็นลอยไปพ้นหมู่บ้านแล้วก็พากันกลับ คนที่ยากจนที่อยู่ปลายน้ำก็จะเก็บกระทงไป
          แต่ในปัจจุบัน การลอยกระทงมิได้บรรจุอะไรนอกจากดอกไม้ธูปเทียน แล้วเรียกลอยกระทง นี้ว่า “การไหลเรือ” และต่างคนต่างลอยมิได้ลอยร่วมกัน เมื่อลอยไปแล้วผู้ที่อยู่ใต้น้ำมักจะเก็บไต้ที่จุดไปในกระทงไปเสียทำให้กระทงที่จุดไต้สว่างสวย ลอยอยู่ในน้ำได้ไม่นาน
 

ที่มา    http://www.thaibizcenter.com/cultureinfo.asp?provid=68&placeid=3462
http://www.google.co.th/imgres?q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F+%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2&um=1&hl=th&sa=N&tbm=isch&tbnid=4lO5tlEw5VnujM:&imgrefurl=http://www.travelwizu.com/1269/%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%259F-%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1.html&docid=4dCy4dB_WeXbqM&imgurl=http://www.travelwizu.com/wp-content/uploads/2009/09/20081021092457.jpg&w=550&h=367&ei=puEeT97mCMXJmQXu5JTUDg&zoom=1&biw=1093&bih=446&iact=rc&dur=39&sig=106974440850435733775&page=1&tbnh=116&tbnw=189&start=0&ndsp=10&ved=1t:429,r:0,s:0&tx=101&ty=16

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ความสำคัญและความหมาย

บุญบั้งไฟเป็นที่นิยมทำกันเดือน 6 การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองเป็นประเพณีทำบุญขอฝนเพื่อให้ฝนตากต้องตามฤดูกาลเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณบางหมู่บ้านถือเคร่งมากคือจะต้องทำบุญบั้งไฟทุกปีจะเว้นไม่ทำไม่ได้เพราะถ้าเว้นไม่ทำบุญนี้เชื่อว่าอาจทำให้เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ เช่นฝนแล้งบ้างหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้างคนหรือวัวควายอาจเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ บ้างเป็นต้นและเมื่อทุกบุญดังกล่าวแล้วก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุขเพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วยการเตรียมงานเมื่อชาวบ้านตกลงกำหนดวันกับทางวัดแล้วว่าจะทำบุญบั้งไฟวันใดก็พากันจัดหาเงินซื้อดินประสิวไปมอบให้ทางวัดเพื่อให้เจ้าอาวาสประชุมประภิกษุสามเณรและชาวบ้านจัดทำบั้งไฟขึ้นและเจ้าบ้าน(คนในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพ)จะทำฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ชาวบ้านอื่นจัดบั้งไฟและขบวนเซิ้งมาร่วมงานบุญและประชันกันบางทีมีประกาศให้หมู่บ้านหรือบุคคลนำบั้งไฟมาประกวดกันโดยประกาศทั้งขบวนแห่งการประดับตกแต่งบั้งไฟและการจุดขึ้นสูงของบั้งไฟด้วยทางคณะเจ้าภาพจะจัดหารางวัลให้ผู้ชนะเมื่อใกล้จะถึงวันกำหนดงานชาวบ้านที่เป็นเจ้าของงานจะพากันปลูกเพิงหรือผาม(ประรำ)รอบบริเวณวัดหรือศาลาวัดเพื่อให้คนหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงานได้พักอาศัยและทุกบ้านเตรียมสุราอาหารทั้งคาวหวานไว้ต้อนรับแขกที่จะมาจากต่างถิ่นโดยไม่คิดมูลค่าส่วนผู้ชำนาญในการทำบั้งไฟก็เตรียมหาไมและอุปกรณ์มาทำบั้งไฟ บั้งไฟมีความเล็กใหญ่แล้วแต่ความต้องการหรือตามความสามารถของผู้จัดทำที่มีขนาดใหญ่มี2ชนิดคือบั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสนตามน้ำหนักของดินปืนบั้งไฟหมื่นใช้ดินปืนหนัก12กิโลกรัม(หนึ่งหมื่น)ถ้าบั้งไฟแสนก็ใช้ดินปืนหนักสิบหมื่น(120 กิโลกรัม)บั้งไฟ คือ กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ2ถึง3เมตร ทะลุปล้องออกหรือกระบอกเหล็กกลม ๆ กลวงข้างในก็ได้ สำหรับใช้บรรจุดินปืน ตำดินปืนให้แน่นเกือบเต็มกระบอกโดยมีลิ่มอุดที่ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้แน่น เอาดินเหนียวปิดปากกระบอกอีกข้างหนึ่งเสร็จแล้วเจาะรูให้พอเหมาะแล้วเอาไม้ไผ่ขนาดเล็กเป็นท่อน ๆ ข้างกันมีข้อยาวต่าง ๆ กันมาเป็นลูกบั้งไฟโดยมัดรอบตัวบั้งไฟเพื่อให้เกิดเสียงดังเมื่อบั้งไฟอยู่ในอากาศและมีไม่ไผ่ลำยาวทำเป็นหางมีขนาดสั้นยาวแล้วแต่ขนาดของบั้งไฟแล้วประดับประดาบั้งไฟด้วยกระดานสีทำลวดลายต่าง ๆ กันแล้วแต่จะเห็นสวยงามวันทำบุญเมื่อถึงวันทำบุญชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ทำบุญเตรียมทาอาหารการกินรับแขกและภัตตาหารสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ได้รับการบอกบุญก็จะมีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวและเด็กพร้อมทั้งบั้งไฟมาร่วมงานบุญที่วัดซึ่งตามปรกติจะมาพร้อมกับพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานบุญในงานบุญบั้งไฟพ่อแม่ยินดีให้ลูกสาวไปร่วมงานโดยไม่มีการขัดข้องเกี่ยงงอน ในงานบุญบั้งไฟมักจะมีการบวชนาคด้วย ก่อนบวชมีการฟังพระสวดมนต์ และถวายภัตตาหารเพล ตอนบ่ายตีกลองรวมประชาชน ทำพิธีสู่ขวัญนาคและทำพิธีบวชนาคก่อนจะมีการบวชนาค เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้บวช จะมีพิธีสู่ขวัญนาคก่อน


ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social04/17/heat12kong14/htmls/6.htm
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may46/know/bungfli.html